ReadyPlanet.com
dot dot
dot
เกี่ยวกับ บริษัท เพอร์เฟค อินนิเซียล(ประเทศไทย) จำกัด
dot
bulletเกี่ยวกับเพอร์เฟค
bulletการอบรมส่งเสริมทางวิชาการ
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม
dot
ทางด้านการท่องเที่ยว และการเกษตร
dot
bulletไร่เทพ มังกรศิลป์ พร้อมโฮมสเตย์
dot
เคมีสำหรับจัดจำหน่าย
dot
bulletเคมีสำหรับจัดจำหน่าย
dot
เหยื่อกำจัด ปลวก มด แมลงสาบ
dot
bulletเหยื่อกำจัดปลวก เอ็กซ์เทอม สำหรับสถานีบนดิน
bulletเหยื่อกำจัดปลวก เอ็กซ์เทอม สำหรับสถานีใต้ดิน
bulletเหยื่อกำจัดมด ดิจิตอล คิลเลอร์
bulletเจลแมลงสาบ แบล๊ททาธอร์ อัลตร้า
bulletเหยื่อกำจัดแมลงสาบซีจเจล
dot
สารป้องกันและกำจัดปลวก
dot
bulletโปรธอร์
bulletProthor
bulletอัลตร้าธอร์
bulletULTRATHOR
bulletแม็กซ์ธอร์
bulletMaxxthor
dot
เหยื่อกำจัดสัตว์พาหะ
dot
bulletเหยื่อกำจัดหนู โรเด๊นธอร์
dot
อุปกรณ์กำจัดแมลง
dot
bulletเครื่องดักแมลง
bulletเครื่องดักแมลง I-trap 50E
bulletเครื่องดักแมลง SPARROWHAWK
dot
บริการด้านสุขอนามัย
dot
bulletเครื่องเป่ามือ
bulletหุ่นยนต์เช็ดกระจก
bulletเครื่องสวมถุงหุ้มร่มเปียกอัตโนมัติ
dot
อุปกรณ์ฉีดพ่นสารเคมี
dot
bulletเครื่องพ่นหมอกควัน(FOGGER)
bulletเครื่องพ่นฝอยละเอียด
dot
บริการ
dot
bulletบริการกำจัดปลวก และแมลง
dot
สินค้า
dot
bulletสบู่น้ำผึ้ง
bulletสมุนไพรกำจัดปลวก
dot
แมลงและสัตว์พาหะน่ารู้
dot
bulletปลวก
bulletมด
bulletแมลงสาบ
bulletแมลงวัน
bulletหนู
bulletยุง
bulletตัวเรือด
bulletแมงมุม
bulletเห็บ/หมัด
dot
ตำแหน่งงานว่าง
dot
bulletประกาศตำแหน่งงานว่าง
dot
เว็บไซด์ที่น่าสนใจ
dot
bulletwww.google.co.th
bulletหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
bulletหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
bulletหนังสือพิมพ์คมชัดลึก
bulletหนังสือพิมพ์มติชน
bulletหนังสือพิมพ์บ้านเมือง
bulletหนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์
bulletสมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลง
bulletสมาคมกำจัดแมลงภาคเหนือ
bulletฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี
bulletสำนักงานสาธารณสุข เชียงใหม่
bulletคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
bulletข่าวประกวดราคา
bulletศูนย์ทดลองปลูกพืชสมุนไพร ผักและผลไม้ปลอดสารพิษ
dot
สถานที่ตั้งสาขาบริการ
dot
bulletสำนักงานบริการส่วนกลาง
bulletcode website


ปลวก

 

 

ปลวก(TERMITE)

ปลวกตัวแรกของโลกถือกำเนิดเมื่อประมาณ 220 ล้านปีมาแล้ว การขุดพบซากฟอสซิลของปลวก โดย E.M. Bordy แห่งมหาวิทยาลัย Witwatersrand ในแอฟริกาใต้ทำให้นักชีววิทยาสัตว์ดึกดำบรรพ์รู้ว่าปลวกโบราณมีรูปร่างที่ละม้ายคล้ายคลึงแมลงสาบปัจจุบันมาก แต่มีขนาดเล็กกว่า และมีผิวอ่อนนุ่มกว่า ถึงแม้โลกทุกวันนี้มีปลวกมากกว่า 2,000 ชนิด แต่ก็มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ชอบอาศัยอยู่ในเนื้อไม้ของอาคารบ้านเรือน ซึ่งนับเป็นภัยต่อที่อยู่อาศัย เพราะปลวกจะกัดกินสรรพสิ่งที่ทำด้วยไม้จนหมด และนั่นก็หมายความว่า เจ้าของบ้านจะต้องอพยพออกจากบ้านในที่สุด


 

นางพญาปลวกกับบริวารปลวก

          ปลวกเป็นสัตว์สังคมที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มันทำมาหากินและดูแลกันอย่างเป็นทีม ลักษณะนิสัยเช่นนี้ทำให้มนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ ปราบปรามหรือกำจัดมันได้ยาก ดังนั้น เวลาจะสร้างบ้าน เจ้าของบ้านควรใช้วิธีฉีดสารเคมีตามรังของมันที่อาจอยู่ในตอไม้หรือเศษไม้ใต้ดินให้ทั่ว เพื่อจะได้มั่นใจว่าปลวกตายหมด เพราะเหตุว่ายากำจัดปลวกเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตซึ่งหมายถึงมนุษย์ด้วย ดังนั้น การพ่นยากำจัดปลวกจึงต้องดำเนินไปอย่างระมัดระวังและสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องรอให้แมลงเม่า ซึ่งเป็นปลวกในระยะสืบพันธุ์ต้องบินว่อนออกมา เพราะถ้าถึงเวลานั้น ทุกอย่างที่เป็นชิ้นส่วนของบ้านก็ตกอยู่ในภาวะอันตรายเรียบร้อยแล้ว

               การใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในจอมปลวก และใต้ดินทำให้เราไม่ได้ศึกษาธรรมชาติของปลวกอย่างใกล้ชิด จนทำให้คนหลายคนคิดว่าปลวกคือ มดขาว แต่ในความเป็นจริงปลวกและมดเป็นสัตว์คนละชนิดกัน เพราะมดเป็นสัตว์ในอันดับ Hymenoptera และปลวกอยู่ในอันดับ Isoptera ทั้งนี้เพราะปีกของมดสั้น และมีขนาดไม่เท่ากัน แต่ปีกของปลวกยาวและใหญ่เกินตัว อีกทั้งมีขนาดเท่ากันด้วย นอกจากความแตกต่างเรื่องปีกแล้ว สรีระส่วนที่เป็นเอวก็แตกต่างกัน คือมดมีเอว แต่ปลวกไม่มี และเวลามดตัวผู้ผสมพันธุ์กับราชินีมดแล้ว มันจะตายในเวลาต่อมาอีกไม่นาน ส่วนปลวกตัวผู้เมื่อได้เสพสมกับราชินีปลวกแล้ว มันจะช่วยกันสร้างอาณาจักรปลวกให้มีบริเวณเพียงพอสำหรับให้ลูกปลวกเจริญเติบโต เพราะราชินีปลวกที่เติบโตเต็มที่อาจมีลำตัวยาวตั้งแต่ 9-12 เซนติเมตร และเวลาตั้งครรภ์ มันจะเดินไปไหนมาไหนไม่ได้ ถึงกระนั้นมันก็ไม่อดอาหารตาย เพราะมันมีปลวกงานที่มีนิสัยขี้อายแต่ขยันขันแข็งเดินหน้าหาอาหารมาให้ราชินีของมันเสวยตลอดวัน และมันยังช่วยทำความสะอาดตัวให้ราชินีของมันด้วย โดยการเลียตามตัวตลอดเวลา และเมื่อราชินีปลวกวางไข่แล้ว ปลวกงานก็จะขนไข่ไปเรียงให้เป็นที่เป็นทาง และหาอาหารมาเลี้ยงปลวกอ่อนที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้ด้วย นักชีววิทยายังพบอีกว่า ปลวกบางชนิดรู้จักทำสวนรา ซึ่งให้ cellulose อันเป็นอาหารโปรดของมัน โดยมันจะขนใบหญ้าใบไม้มาวางกองจนใบไม้กลายสภาพเป็นรา อนึ่งราที่กำลังเจริญเติบโต มันจะคายไอน้ำออกมา ทำให้ความชื้นของบรรยากาศในรังอยู่ที่ระดับพอดีด้วย

             ส่วนราชาปลวกนั้น ไม่ต้องทำมาหากินใดๆ เพราะอาณาจักรปลวกได้กำหนดหน้าที่หาอาหารให้ปลวกงานทำแล้ว มันจึงมีหน้าที่อย่างเดียวเท่านั้น คือสืบพันธุ์กับราชินีปลวกในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นยามที่ศัตรูปลวกอันได้แก่ มด แมลงเต่าทอง ตัวต่อ กิ้งก่า ตะกวด ตะขาบ และคนนอนหลับพักผ่อน ทำให้ประสิทธิภาพในการสร้างปลวกอ่อนของมันไม่ถูกกระทบกระเทือน

             ปลวกทหารเป็นปลวกอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจ ปลวกประเภทนี้มีเขี้ยวสำหรับต่อสู้ศัตรูเช่น มดที่ชอบขโมยไข่ปลวกไปกิน ถึงแม้มดจะมีขนาดใหญ่กว่า และปลวกไม่มีตาจะเห็นข้าศึก แต่ปลวกทหารก็สามารถป้องกันรังของมันได้อย่างไม่ย่อท้อ โดยมันจะใช้เขี้ยวกัดแล้วปล่อยยางเหนียวๆ ออกมาตามตัวมด ซึ่งจะส่งกลิ่นล่อให้ปลวกทหารตัวอื่นๆ เข้ามากลุ้มรุมกัดมดที่บุกรุกรังมันจนตาย

                อาณาจักรปลวกมีการปกครองแบบสมบูรณาสิทธิราชย์ คือมีราชินีปลวกเป็นเจ้าแม่ผู้ทรงอำนาจสูงสุด เพราะเจ้าแม่ปลวกบางพันธุ์อาจมีอายุยืนนานถึง 100 ปี ดังนั้น การมีประสิทธิภาพสูงในการผลิตปลวก จึงทำให้สมาชิกปลวกมีจำนวนเพิ่มขึ้นๆ ตลอดเวลา และนั่นก็หมายความว่า รังปลวกจะต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ไม่มีปัญหาใดๆ เพราะปลวกงานมีความสามารถด้านสถาปัตยกรรมสูง โดยมันจะขนดินจากใต้ดินขึ้นมาบนดิน และวางให้เป็นกองแล้วใช้น้ำลายเป็นตัวเชื่อมเนื้อดิน จนได้จอมปลวกที่อาจสูงถึง 7 เมตร และนั่นก็หมายความว่า ถ้ามนุษย์จะเก่งเท่าปลวกในการสร้างบ้าน เราต้องสร้างตึกให้สูงเท่าดอยอินทนนท์ การไม่มีตาจะดู ทำให้ปลวกไม่รู้แม้แต่น้อยว่ารูปร่างในภาพรวมของรังมันมีหน้าตาอย่างไร แต่ในรายละเอียดเล็กน้อยมันรู้ดีเช่น มันรู้ว่ามันต้องสร้างรังให้เอียงเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมขัง และรังของมันต้องมีรูระบายอากาศเข้าออก อีกทั้งรูต้องมีลิ้นปิดเปิดให้ความชื้นภายในรังอยู่ที่ระดับพอดี สำหรับปลวก 2 ล้านตัวด้วย ทั้งๆ ที่ปลวกเหล่านี้หายใจก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาชั่วโมงละ 40 ลิตร

               ความสามารถด้านกินของปลวกก็เป็นเรื่องมหัศจรรย์ เพราะมันกินได้ทั้ง cellulose และยางที่หุ้มสายโทรศัพท์หรือสายไฟฟ้า และในยามที่อาหารขาดแคลน มันก็อาจกินญาติที่อ่อนแอและลูกอ่อน หรือเวลาราชินีปลวกสิ้นพระชนม์ ปลวกบริวารก็จะจับซากราชินีมาสังเวยกินกัน

               ในวารสาร Nature ฉบับที่ 415 ประจำวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2545 M. A. Merbach แห่งมหาวิทยาลัย Wolfgang Goethe ในประเทศเยอรมนี กับคณะได้รายงานว่า ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง Nepenthes albomarginata ซึ่งตามปกติจะหาอาหารโดยวิธีล่อสัตว์ขนาดเล็กเช่น มดให้ตกลงไปในโพรงหม้อ แล้วมันก็ขับน้ำย่อยออกมาย่อยเหยื่อที่เคราะห์ร้ายนั้น ใช้ขน (trichome) ที่ขึ้นตามบริเวณขอบปากหม้อล่อปลวก Hospitalitermes bicolor ให้เดินไปสู่ความตาย เพราะปลวกชนิดนี้เวลาเห็นขนขาวที่ขอบปากหม้อ มันจะหันกลับมาบอกเพื่อนปลวกให้เดินไปกินขนเหล่านั้นจนบริเวณขอบปากหม้อโล่งและลื่น ทำให้ปลวกทั้งหลายร่วงตกลงในหม้อ ถึงชั่วโมงละ 22 ตัว และเมื่อขนบริเวณขอบปากไม่มีแล้ว ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงต้นนั้น ก็ไม่เป็นที่พึงประสงค์ของปลวกใดๆ อีกต่อไป งานวิจัยนี้มีความสำคัญตรงที่ได้พบว่า N. albomarginata เป็นพืชกินสัตว์ชนิดแรกที่ใช้เนื้อเยื่อของตนล่อสัตว์ให้ตกเป็นเหยื่อ

                ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ฉบับที่ 99 หน้า 6,838 ปี พ.ศ. 2545 J. Traniello แห่งมหาวิทยาลัย Boston ในสหรัฐอเมริกาได้รายงานว่า ปลวกมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเหมือนมนุษย์ และนี่ก็คือเหตุผลหลักที่ทำให้สัตว์สังคมชนิดนี้มีอายุยืนนานนับ 200 ล้านปี โดย Traniello ได้อ้างถึงกรณีมดที่เวลาตายลง มดตัวอื่นๆ จะช่วยกันขนศพมดออกจากรังทันที เพื่อไม่ให้โรคจากมดตายมาคุกคามมดที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือผึ้งเวลาราในรังระบาด มันก็จะรวมกลุ่มกันทำให้บริเวณที่มันเกาะกลุ่มนั้นมีอุณหภูมิสูงจนสามารถฆ่าราได้ นั่นคือสัตว์สังคมเหล่านี้มีวิธีป้องกันโรคระบาดด้วยวิธีต่างๆ กัน ปลวก Zootermorpsis angustieollis ก็เช่นกัน เวลามีโรคระบาด ปลวกที่รอดตายจะมีภูมิคุ้มกัน และมันจะถ่ายทอดภูมิคุ้มกันนี้สู่ปลวกตัวอื่นๆ โดยถ่ายบักเตรีในกระเพาะให้ปลวกอื่นกิน ดังนั้น บักเตรีซึ่งสามารถทำหน้าที่ภูมิคุ้มกัน จึงสามารถผ่านจากปลวกตัวหนึ่งไปสู่ปลวกตัวอื่นๆ ได้

                ณ วันนี้ ปลวกกำลังคุกคามอาคารสถานที่อยู่อาศัยของมนุษย์ทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องใช้งบประมาณ 45,000 ล้านบาท/ปี ในการต่อสู้ปลวก Formosan การสำรวจทำให้รู้ว่าขณะนี้ปลวก Formosan ในอเมริกามีประมาณ 500,000-3.5 ล้านตัว ปลวกอันตรายพันธุ์นี้ได้ติดมากับเรือจากเอเชียเมื่อประมาณ 60 ปีก่อนนี้ และขณะนี้ได้เข้ามาอาศัยอยู่ตามต้นไม้ ตามบ้านในรัฐทางใต้ และฮาวาย โดยเฉพาะที่เมือง New Orleans มีปลวก Coptotermes formosanus มากเป็นพิเศษ เพราะที่นี่มีอากาศอบอุ่น มีความชื้นสูง และบ้านไม้ในเมืองมักมีเถาวัลย์ปกคลุม

                 อนึ่งในการต่อสู้ปลวกนั้น คนกำจัดปลวกใช้กล้อง infrared ส่องตามผนัง เพราะรู้ว่าถ้าที่ใดมีปลวกอาศัยอยู่บริเวณนั้น จะมีความร้อนมาก ปลวกจำนวนมากจะแผ่รังสีอินฟราเรดออกมามากซึ่งกล้องสามารถรับได้ นักกำจัดปลวกบางคนใช้วิธีส่งคลื่น microwave ไปกระทบผนัง ถ้าคลื่นกระทบปลวกที่กำลังเคลื่อนที่ คลื่นที่สะท้อนกลับออกมาจะทำให้เจ้าหน้าที่รู้ได้ว่าภายในกำแพงหรือผนังนั้น มีปลวกหรือไม่ และเมื่อรู้ว่าปลวกมีจริงแล้ว หน้าที่ต่อไปคือ กำจัดมันโดยอาจใช้ยาฉีดที่ทำด้วย hexaflumuron ซึ่งจะทำให้ปลวกที่ลอกคราบมีปัญหา เพราะสารเคมีชนิดนี้สามารถทำให้เปลือกหุ้มตัวปลวกไม่แข็งตัว และปลวกก็จะตาย หรือฉีดพ่นด้วย chlorfenapyr ก็เป็นการฆ่าปลวกด้วยสารเคมีอีกวิธีหนึ่ง วิธีการเปลี่ยนแปลงยีน (gene) ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่กำลังได้รับการพิจารณาว่าเป็นวิธีกำจัดที่ดี โดยพยายามเปลี่ยนแปลงตัวอ่อน เป็นปลวกทหารให้หมด เพราะปลวกทหารเป็นหมัน และไม่มีหน้าที่หาอาหาร ดังนั้น ถ้ารังปลวกมีปลวกทหารมาก ปลวกงานก็ต้องหาอาหารมากขึ้นๆ จนในที่สุดปลวกงานก็จะล้มตาย และปลวกทหารก็จะล้มตาย
 



 



บริการของบริษัท

บริการกำจัดแมลงส่วนราชการ
กำจัดแมลงโรงงาน
บริการกำจัดแมลงร้านอาหาร
บริการกำจัดปลวก
ตัวเรือด article
แมลงวัน article
ยุง article
หนู
แมลงสาป article
มด article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

สำนักงานบริหารงานภาคเหนือ สำนักงานใหญ่
เลขที่ 113/159 หมู่บ้านกาญจน์กนกวิลล์ 4  ตำบลสันกำแพง  อำเภอสันกำแพง  จังหวัดเชียงใหม่  50130
สาขาเชียงใหม่/ภาคเหนือ: โทรศัพท์  0-5326-0241 , 0-5330-9099
สายด่วนฝ่ายขาย  08-1530-1139 , 08-0134-2282
 

สำนักงานบริการ งานส่วนกลาง
สาขากรุงเทพฯ เลขที่ 14 ซอยรามอินทรา 99 แยก 2  ถนนรามอินทรา  แขวงคันนายาว  เขตคันนายาว  กรุงเทพฯ  10230
โทรศัพท์ 0 - 2003 - 0890   โทรสาร  0 - 2003 - 0890  ต่อ 104
เลขที่ 238 ซอยลาดพร้าว 64 (เกตุนุติ) ถ.ลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร 0-2935-5299 โทรสาร 0-2935-5688

ตัวแทนจำหน่ายเคมีและสินค้า
สาขาเชียงใหม่/ภาคเหนือ: โทรศัพท์  0-5326-0241  โทรสาร 0-5330-9099
สายด่วนฝ่ายขาย  08-1530-1139 , 08-0134-2282