หนู
(RAT)
ความสำคัญของหนู
หนูเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้เกือบทุกชนิด แต่ความต้องการอาหารของหนูแตกต่างกันไปตามชีพจักรของการเจริญเติบโตและช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์เมื่อถึงฤดูแล้งก่อนการเพาะปลูกจะเป็นช่วงที่ขาดอาหารธรรมชาติ หนูจะกินอาหารทุกชนิดที่พบและประชากรหนูจะมีปริมาณสูงมาก หนูจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มง่ายต่อการกำจัด หลังจากที่เกษตรกรเริ่มลงมือทำนาหรือปลูกพืชครั้งที่ ๒ ความเป็นอยู่ของหนูจะเปลี่ยนไป อาหารเพิ่มขึ้นและมีแหล่งที่อยู่อาศัยหลบซ่อนมากขึ้น ความอดอยากของหนูจะน้อยลง ฉะนั้นช่วงนี้การป้องกันและกำจัดหนูจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ประกอบกับเกษตรกรจะต้องดูแลเอาใจใส่ต่อต้นพืชในเรื่องอื่น ๆ จึงไม่ค่อยมีเวลาที่จะทำการกำจัดหนู
โดยธรรมชาติหนูจะมีอายุประมาณ ๑ ปี แต่หนู ๑ ตัว จะกินอาหารต่อวันในปริมาณเพียง ๑๐% ของน้ำหนักตัวมันเท่านั้น เฉลี่ยถ้าหนูตัวหนึ่งมีน้ำหนักประมาณ ๒๐๐ กรัม มันจะกินอาหารหนักประมาณ ๗.๓ กิโลกรัมต่อปี ดังนั้นความเสียหายจากการทำลายของหนูที่พบโดยทั่ว ๆ ไป จะเป็นการกัดทำลายเพื่อปรับหรือลับฟันคู่หน้าของมันให้สั้นอยู่ในสภาพที่เหมาะแก่การกัดพืชผลหรือสิ่งอื่น ๆ เท่านั้น ไม่เช่นนั้นฟันคู่หน้าของมันทั้งบนล่างจะงอกยาวออกมาโดยเฉลี่ยตลอดชีวิตของหนู ฟันจะยาวประมาณ ๖ - ๙ นิ้ว
หนูเมื่อมีอายุ ๒ เดือนขึ้นไป ก็สามารถผสมพันธุ์ได้แล้ว ระยะที่หนูเป็นสัดเฉลี่ยประมาณ ๕ วัน ระยะตั้งท้องประมาณ ๒๑ วัน และหลังจากคลอดลูกแล้ว ภายใน ๒๔ ชั่วโมง หนูเพศเมียจะสามารถผสมพันธุ์ได้อีก ดังนั้นมันจึงสามารถ ออกลูกได้ปีละไม่น้อยกว่า ๔ - ๖ ครอก ครอกละประมาณ ๔ - ๑๐ ตัว หนูเป็นสัตว์ ที่มีตาบอดสี ประสาทตาไม่ค่อยดี ในขณะที่ออกหากินเวลาคืน หนูจะใช้หนวดหรือขนข้างจมูกเป็นเครื่องช่วยนำทาง และใช้จมูกสูดดมกลิ่นหาอาหารได้เป็นอย่างดี มีประสาทรับฟังเสียงได้ดีมาก มีประสาทรับรู้ในการชิมได้ดีและรู้สึกถึงสิ่งแปลกปลอมปนมาในอาหารได้ง่าย จะเห็นว่าหนูเกิดการเข็ดขยาดต่อสารพิษบางชนิด หนูว่ายน้ำไม่เก่ง ดำน้ำได้ดี บางครั้งอาจพบว่าเมื่อมีประชากรหนูมาก มันจะอพยพว่ายน้ำข้ามคลองหรือวิ่งข้ามถนนกันเป็นฝูง ๆ ไปสู่แหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ ๆ
ปกติหนูชอบที่จะออกหากินในเวลากลางคืน แต่บางครั้งหนูจะออกหากินในตอนกลางวัน ถ้าขาดแคลนอาหารหรือเพื่อที่มันจะหลบหนีจากศัตรูธรรมชาติ เช่น งู นกแสก นกฮูก หนูมักจะอาศัยอยู่ตามคันนา คันไร่ คันสวนหรือรกร้างว่างเปล่าที่มีหญ้าขึ้นรกรุงรัง ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ตามขอบบ่อ หนอง คลองบึง หนูเพศเมียจะขุดรูอาศัยเพื่อเลี้ยงลูก ส่วนเพศผู้จะอาศัยอยู่บริเวณใกล้ ๆ ตามบริเวณพื้นที่ที่มีหญ้ารกรุงรัง ในฤดูแล้งหนูจะอาศัยอยู่รมกันเป็นจำนวนมาก ถ้าขุดรูดูจะพบว่าในรู ๑ รู จะมีหนูอาศัยอยู่ ๓๐ ถึง ๔๐ ตัว
รูปร่างและชีวประวัติ
หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ออกหากินในเวลากลางคืน ถ้าหากประชากรของหนูหนาแน่นมาก ก็อาจทำให้บางตัวออกหากินในเวลากลางวัน สิ่งที่ช่วยให้หนูสามารถออกหากินในเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี คือ หนวด ซึ่งอยู่บริเวณด้านข้างใกล้จมูกทั้ง 2 ข้าง หนูจะใช้หนวดช่วยคลำทาง ดังนั้น หนูมักออกหากินตามทางเดินเสมอทำให้เกิดรอยทางเดิน นอกจากนี้หนูยังมีฟันหน้าที่คมและแข็งแรงใช้กัดแทะเมล็ดหรือเปลือกผลไม้ที่แข็งได้โดยง่าย และยังกัดแทะของแข็ง ๆ เช่น ไม้เพื่อลับฟันให้คมอยู่เสมอและทำให้ฟันแทะของมันไม่งอกยาวจนเกินไป หนูเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้เร็ว โดยปกติหนูจะโตเต็มวัยเมื่อมีอายุประมาณ 1 1/2 - 2 เดือน ขึ้นไป เพศเมียตั้งท้องประมาณ 21 วัน และออกลูกครอกละหลายตัว ในปีหนึ่ง ๆ หนูจะออกลูกได้หลายครอก ซึ่งมีผู้คำนวณว่าในเวลา 1 ปี หนู 1 คู่ สามารถขยายพันธุ์รวมกันได้มากกว่า 1,000 ตัว อย่างไรก็ตามประชากรหนูก็ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้มากจนเกินไปเพราะปริมาณประชากรหนูจะถูกควบคุมด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น ศัตรูธรรมชาติ อาหาร ที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ
ชนิดของหนูที่พบอยู่ทั่วไป
1. หนูพุกใหญ่หรือหนูแผง (Great Bandicoot) เป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ ๔๐๐ - ๖๐๐ กรัมมีขนตามลำตัว สีดำหรือน้ำตาล บริเวณส่วนหลังจะมีขนแข็ง ๆ โผล่ออกมาอย่างเห็นได้ชัด เท้ามีสีดำ หน้าค่อนข้างสั้นเพศเมียมีเต้านมที่อก๓ คู่ และท้องอีก ๓ คู่มีนิสัยชอบขู่ พบในหน้าข้าว หรือไร่ข้าวโพดออกมาหากินได้ไกลในระยะ ๑๐๐ เมตร จากที่อยู่อาศัย |
|
2. หนูพุกเล็ก (Lesser Bandicoot) มีรูปร่างลักษณะคล้ายหนูพุกใหญ่ ทั้งสีขน เต้านมในเพศเมีย และมีนิสัยชอบขู่ แตกต่างกันตรงที่เท้าไม่ดำ และไม่มีขนเป็นแผงบริเวณส่วนหลัง น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ ๒๐๐ - ๒๕๐ กรัม พบในนาข้าว ไร่อ้อยและข้าวโพด |
|
3. หนูนาท้องขาว (Ricefield Rat) มีขนาดปานกลาง น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ๘๐ - ๒๐๐ กรัม ขนตามตัวมีสีนำตาล และมีสีดำแซม หางมีสีดำตลอด เพศเมียมีเต้านมที่อก ๓ คู่ และที่ท้อง ๓ คู่ พบทั่วไปในนาข้าว ออกหากินได้ไกลในระยะ ๕๐ เมตรจากที่อยู่อาศัย |
|
4. หนูนาเล็กหรือหนูสวน (Lesser Ricefield Rat) มีขนาดเล็กกว่าหนูนาท้องขาว น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยประมาณ ๙๐ - ๑๐๐ กรัม มีขนตามตัวคล้ายหนูนาท้องขาว หน้าสั้นทู่ใบหูเล็ก ขนที่ท้องมีสีเข้ม เพศเมียมีเต้านมที่อก ๒ คู่ และที่ท้อง ๓ คู่ พบทั่วไปในไร่นา |
|
5. หนูหริ่งหางสั้น (Fawn - Coloured Mouse) มีขนาดเล็ก น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ย ๑๐ - ๑๕ กรัม ความยาวของหางสั้นกว่าความยาวของหัวและลำตัวรวมกัน หางด้านบนมีสีเทา ด้านล่างสีขาว ท้องสีเทา เท้าสีขาว มีจมูกยาวค่อนข้างแหลมยื่นเกินฟันหน้า เพศเมียมีเต้านมที่อก ๓ คู่ ที่ท้อง ๒ คู่ พบตามนาข้าว ไร่ข้าวโพด ออกหากินได้ไหลในระยะ ๓ - ๙ เมตร จากที่อยู่อาศัย |
|
6. หนูหริ่งหางยาว (Ryukyu Mouse) มีขนาดเล็กพอ ๆ กับหนูหริ่งหางสั้นน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยประมาณ ๑๒ กรัม ความยาวของหางยาวกว่าความยาวของหัวและลำตัวรวมกัน ฟันคู่หน้าด้านบนตรงฟันด้างล่างมีสีเข้มกว่าฟันหนูชนิดอื่น ขนใต้ท้องมีสีขาว จมูกสั้น หางด้านบนสีดำ ด้านล่างสีขาว เพศเมียมีเต้านมที่อก ๓ คู่ ที่ท้อง ๒ คู่ พบกระจายทั่วไปในนาข้าวไร่ ข้าวโพด ถั่วเหลืองและถั่วเขียว
|
|
|
การป้องกันกำจัด
1.สมสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของหนู โดยกำจัดวัชพืชหรือกองวัสดุเหลือใช้ เพื่อมิให้หนูใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือหลบกำ บังขณะออกหากินเวลากลางคืน
2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติเพื่อควบคุมหนู ได้แก่ งูชนิดต่าง ๆ เช่น งูเห่า งูทางมะพร้าว งูแมวเซา งูแสงอาทิตย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสัตว์อื่นอีกหลายชนิดที่คอยจับหนูกินเป็นอาหาร เช่น พังพอน เหยี่ยว นกเค้าแมว นกแสก เป็นต้น
3. การใช้สารเคมีออกฤทธิ์ช้าระหว่างการปลูก เช่น โบรดิฟาคูม, โฟลคูมาเฟน, โบรมาดิโอโลน, ไดฟีทิอาโลน, คูมาเททราลิล ที่อยู่ในรูปเหยื่อพิษสำหร็จรูป ชนิดเป็นก้อน ทำการวางเหยื่อ 20 ก้อนต่อไร่ โดยวางเหยื่อพิษตามทางเดินของหนู หรือใส่ลงในรูหนูโดยตรง หรือวางตามแหล่งที่มีหนูระบาด อย่างไรก็ตามควรวางเหยื่อพิษในแนวป้องกันรอบ ๆ แปลงเพื่อป้องกันหนูเคลื่อนย้ายมาทำลายอาศัยของหนู เช่น รูหนู และรอยทางเดินของหนูด้วย
ความปลอดภัยในการใช้สารกำจัดหนู
ในการใช้สารเคมีเบื่อหนูไม่ว่าจะเป็นชนิดออกฤทธิ์เร็วหรือช้า หากใช้ไม่ถูกวิธีอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ก่อนใช้จะต้องกันเด็กและสัตว์เลื้ยงออกให้ห่างจากบริเวณนั้น การเบควรเก็บให้มิดชิดบริเวณที่รอดพ้นอัตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง ในกรร๊ที่เกิดอุบัตืเหตุจากสารเคมีเบื่อหนู ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. อุบัติเหตุจากสารเคมีออกฤทธิ์เร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการจุก เสียด ท้องเดิน หายใจไม่สะดวก กระสับกระส่ายและเป็นตะคริว
วิธีแก้พิษเบื้องต้น : ใช้นิ้วล้วงคอให้อาเจียน แล้วให้ดื่มสารละลายโปแตสเซียมเปอร์มังกาเนต (KMnO4) 0.1% ในอัตราส่วน 6 กรัม ละลายในน้ำอุ่น 1 แก้ว หลังจากนั้นประมาณ 10 นาที ให้ดื่มสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตในอัตรา 1/2 ช้อนชา ผสมน้ำ 250 ซีซี ทำการล้วงท้องด้วยน้ำเกลือแล้วรีบพาผู้ป่วยส่งแพทย์
2. อุบัติเหตุจากสารเคมีชนิดออกฤทธิ์ช้า ผู้ป่วยจะเกิดอาการโลหตภายในร่างวกายไหลไม่หยุดอ่อนเพลียเพราะเสียโลหิตมาก
วิธีแก้พิษเบื้องต้น : พยายามทำให้อาเจียน เพื่อให้สารพิษออกจากร่างกายให้มากที่สุด ใช้วิธีการเหมือนอุบัติเหตุเนื่องจากสารเคมีชนิดออกฤทธิ์เร็ว แล้วใช้วิตามิน K กับผู้ป่วยก่อนนำส่งแพทย์